ประกาศ เดอะ เกรท แบร์ริ่งตัน – ในฐานะนักระบาดวิทยาโรคติดเชื้อและนักวิทยาศาสตร์สาธารณสุข พวกเรามีความกังวลเกี่ยวกับความเสียหายทางร่างกายและจิตใจที่เกิดจากผลกระทบจากนโยบายป้องกันโรคโควิด-19 และพวกเราขอแนะนำแนวทางที่เราเรียกว่า โฟคัสโปรเทคชั่น
จากทั่วสารทิศและจากทั่วโลก เราได้ตั้งใจทำงานเพื่อปกป้องบุคคล นโยบายล็อคดาวน์ต่างๆได้ทำให้เกิดความเสียหายอย่างมาก ทั้งในระยะสั้นและระยะยาวสำหรับสาธารณะสุข ซึ่งผลลัพธ์ที่ออกมาคือ (ตัวอย่างเช่น) อัตราการฉีดวัคซีนในเด็กลดลง ผลลัพธ์ของโรคหัวใจและหลอดเลือดแย่ลง การตรวจมะเร็งลดลง และผลกระทบต่อสุขภาพจิตแย่ลง ซึ่งทำให้อัตราการเสียชีวิตมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นในปีต่อๆไป โดยที่วัยทำงานและสมาชิกรุ่นใหม่ของสังคมเป็นกลุ่มที่แบกรับภาระมากที่สุด การไม่ให้เด็กนักเรียนไปโรงเรียนถือเป็นความไม่ยุติธรรมอย่างร้ายแรง
การที่จะยังใช้นโยบายเหล่านี้จนกว่าจะมีการผลิตวัคซีน จะทำให้เกิดความเสียหายที่แก้ไขได้ยาก ซึ่งจะทำให้บุคคลที่ด้อยโอกาสได้รับความเสียหายมากที่สุด
เคราะห์ดีว่าความเข้าใจในตัวไวรัสของพวกเรานั้นเพิ่มขึ้น เรารู้แล้วว่ากลุ่มเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากโรคโควิด-19 นั้นสูงกว่าหลายเท่าในกลุ่มผู้สูงอายุและผู้อ่อนแอ่ ทั้งนี้สำหรับเด็กๆแล้ว โรคโควิด-19 นั้นยังถือว่าอันตรายน้อยกว่าโรคอื่นๆ เช่นโรคไข้หวัดใหญ่
ในเมื่อภูมิคุ้มกันนั้นสร้างได้ในหมู่ประชากร ความเสี่ยงของการติดเชื้อ -รวมถึงความอ่อนแอ- นั้นก็ลดลง เรารู้ว่าหมู่ประชากรในจุดใดจุดหนึ่งจะมีการพัฒนาภูมิคุ้มกันหมู่ -เช่นกรณีที่จำนวนผู้ติดเชื้อใหม่นั้นคงที่- ซึ่งจะถูกประคับประคองโดย (แต่ไม่ต้องพึ่งพา) วัคซีน ดังนั้นจุดมุ่งหมายของเราจึงต้องเป็นการลดจำนวนผู้เสียชีวิตและภัยต่อสังคมจนกว่าเราจะพัฒนาภูมิคุ้มกันหมู่
ทางที่มีความเห็นใจมากที่สุดซึ่งมีการชั่งระหว่างความเสี่ยงและประโยชน์ที่จะได้ในการที่จะถึงจุดภูมิคุ้มกันหมู่คือการที่ให้กลุ่มบุคคลที่มีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตใช้ชีวิตปกติ เพื่อที่จะได้สร้างความคุ้มกันโดยการติดเชื้อแบบธรรมชาติ โดยที่ยังมีการป้องกันกลุ่มเสี่ยงที่เราเรียกว่า โฟคัสโปรเทคชั่น
การใช้มาตราการเหล่านี้เพื่อที่จะปกป้องกลุ่มเสี่ยงควรจะเป็นจุดประสงค์หลักในการตอบสนองของสารธรณะสุขต่อโรคโควิค-19 ตัวอย่างเช่น บ้านพักคนชราควรใช้พนักงานที่มีภูมิคุ้มกันและให้ปฏิบัติการทดสอบพีซีอาร์ต่อพนักงานอื่นและผู้มาเยี่ยม การหมุนเวียนของพนักงานก็ให้ลดลง บุคคลที่เกษียนอายุซึ่งอาศัยอยู่ที่บ้านควรจะมีอาหารและสิ่งต่างๆที่จำเป็นส่งไปยังบ้านของพวกเขา และหากเป็นไปได้ คนพวกนั้นควรจะเจอสมาชิกในครอบครัวข้างนอกแทนที่จะอยู่ข้างในบ้าน รายละเอียดในมาตราการต่างๆ ซึ่งรวมถึงบ้านที่มีบุคคลหลายช่วงวัย สามารถนำมาใช้ได้ และถือว่ายังอยู่ในขอบเขตและความสามารถของบุคคลด้านสาธารณสุข
บุคคลที่ไม่มีความเสี่ยงควรจะได้ใช้ชีวิตตามปกติ แต่ว่าการรักษาความสะอาดแบบมาตราฐานเช่น การล้างมือและการอยู่บ้านขณะไม่สบายเป็นสิ่งที่ควรทำเพื่อที่จะได้ลดจำนวนจำกัดของภูมิคุ้มกันหมู่ โรงเรียนและมหาวิทยาลัยควรจะเปิดเพื่อให้มีการสอนตัวต่อตัว กิจกรรมต่างๆเช่น การเล่นกีฬาก็ควรกลับมาทำได้ บุคคลอายุน้อยที่มีความเสี่ยงน้อยควรไปทำงานอย่างปกติ แทนที่จะทำงานที่บ้าน ร้านอาหารและกิจการอื่นๆควรถูกเปิด ศิลปะ ดนตรี กีฬา และกิจกรรมอื่นๆ
ควรกลับมาทำได้ บุคคลที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงก็ควรจะมาร่วมได้หากต้องการ ขณะที่สังคมได้รับความป้องกันจากบุคคลที่มีความเสี่ยงจากบุคคลที่ได้สร้างภูมิคุ้มกันหมู่
ณ วันที่ 4 ตุลาคม 2563 ประกาศฉบับนี้ได้ถูกเขียนและลงนาม ณ เมือง เกรท แบร์ริ่งตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา โดย
ดร.มาร์ติน คูลดอ์ฟ – ศาสตราจารย์ทางการแพทย์ ณ มหาวิทยาลัยฮาร์วาด ซึ่งเป็นนักชีวิสถิติ และนักระบาดวิทยาที่มีความเชี่ยวชาญในการค้นพบและควบคุมการะบาดของไวรัสและการประเมินความปลอดภัยของวัคซีน
ดร. ซูเนตรา กุปต้า – ศาสตราจารย์ ณ มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด นักระบาดวิทยาที่มีความเชี่ยวชาญด้านภูมิต้านทาน การพัฒนาวัคซีน และการสร้างการคำนวนของโรคระบาด
ดร. เจ พัฒะชายา – ศาสตราจารย์ ณ มหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ด ซึ่งเป็นทั้งแพทย์ นักระบาดวิทยา นักเศรษฐศาสตร์ด้านสุขภาพ และนโยบายด้านสาธารณสุขโดยมีความเชี่ยวชาญด้านโรคติดต่อ และประชากรกลุ่มเสี่ยง
Translation by Fabian Doppler